โลกแห่งสังคมนิยม ได้แผ่ขยายอำนาจปกคลุมเข้ามายังจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ประชาชนภายในประเทศ ต้องพบกับความเดือดร้อนจากการปกครองแบบใหม่ นายจู ซึ่งเป็นคนจีนคนหนึ่ง ที่ได้เดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม ประกอบอาชีพตั้งหลักแหล่งอยู่ปทุมธานี ครั้นแต่งงานอยู่กินกับนางเข็ม ซึ่งสถานภาพเป็นคนมอญ และทั้งสองได้ทำอาชีพ ทำนา ทำอิฐ เพื่อค้าขายเป็นหลัก
ที่สุดก็ให้กำเนิดบุตร มีจำนวนถึง๗คน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นชาย นอกนั้นเป็นหญิงทั้งหมด บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อบุตรชายนั้นว่า “เส็ง” นามสกุล บุญเซ็ง เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ ต่อมาพี่น้องที่เป็นหญิงนั้นได้เสียชีวิตลง
พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบางนา โดยมีพระครูนันทมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทัด เจ้าอาวาสวัดบางนา เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาในบวรพุทธศาสนาว่า “จันทรังสี”
หลวงปู่เส็งท่านเป็นผู้พูดน้อยแต่ว่าพูดได้หลายภาษาเช่น ภาษาไทย ภาษามอญ ภาษาจีน ภาษาขอม และท่านได้ศึกษาธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ. ๒๔๘๗
หลวงปู่เส็งท่านได้เริ่มทำพระเครื่องเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นพระพิมพ์สมเด็จเนื้อผง ผสมผงอิธิเจ ปถมังค์ และผงตรีนิสิงเห นอกจากนั้นแล้วยังมีตะกรุดโทนและพระผงประเภทอื่นๆอีกมากมาย
